6.12.53

การบันทึกไฟล์ภาพ

     การบันทึกไฟล์ภาพถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เพราะสามารถนำกลับมาใช้แก้ไขภายหลังหรือบันทึกเพื่อส่งต่อไปทำงานร่วมกับโปรแกรมอื่น ส่วนไฟล์ภาพที่รองรับ Photoshop คือไฟล์ PSD (Photoshop Document) ซึ่งสามารถบันทึกภาพแบบแยกเลเยอร์ให้เป็นส่วนๆ ดังนี้



ส่วนออปชั่นในการบันทึกไฟล์ภาพในช่อง Save Options มีดังนี้
     - AS a copy เป็นการบันทึกไฟล์จากภาพต้นฉบับให้เป็นไฟล์ใหม่
     - Alpha Channels จะใช้บันทึก Channels เพื่อเก็บคุณสมบัติสี
     - Layer บันทึกคุณสมบัติเลเยอร์
     - Annotations เป็นหมายเหตุใช้อธิบายภาพและเสียง
     - Sport Color เลือกรูปแบบสี
     - Use Proof Setup ใช้กำหนดโหมดสีในการพิมพ์
     - ICC Profile เลือกโหมดสีภาพ
     - Thumbnail ขนาดไฟล์ตัวอย่าง

5.12.53

เปิดไฟล์ภาพทำงาน

     ก่อนเริ่มต้นการทำงานให้เปิดไฟล์ภาพที่ต้องการขึ้นมา โดยเลือกแฟ้มทีได้จัดเก็บไฟล์ภาพไว้ (ถ้าต้องการเปิดหลายไฟล์ขึ้นมาพร้อมกันให้กด <ctrl> ค้างไว้แล้วเลือกไฟล์ภาพได้ทันที) ดังนี้

ตั้งค่าหน้ากระดาษใหม่

     เมื่อต้องการทำงานกับภาพใน Photoshop ควรจะกำหนดขนาดภาพหรือตั้งค่าหน้ากระดาษเสียก่อน แล้วจึงนำไฟล์ภาพเข้ามาใช้งาน ซึ่งจะทำให้ได้ขนาดของภาพที่ตรงกับความต้องการใช้งาน สำหรับการตั้งหน้ากระดาษมีขึ้นตอนดังนี้

กำหนดชอร์ตคัทเรียกใช้งาน

     Keyboard Shortcuts เป็นการตั้งตัวแป้นพิมพ์บนคีย์บอร์ดสำหรับเรียกใช้เครื่องมือแทนการคลิกเมาส์ ซึ่งสามารถที่จะกำหนดแป้นพิมพ์ที่ต้องการได้เอง ซึ่งการตั้งคีย์ลัดสามารถทำได้ใน 3 ส่วน คือ
     - Application Menu เป็นการตั้งคีย์ลัดให้กับคำสั่งในเมนูบาร์
     - Palette Menu เป็นการตั้งคีย์ลัดให้กับพาเนลหรือคำสั่งในพาเล็ต
     - Tool เป็รการตั้งคีย์ลัดให้กับเครื่องมือ
     การตั้งค่าคีย์ลัดด้วยตนเองให้นำเมาส์ไปคลิดในช่องคำสั่ง แล้วให้พิมพ์ชื่อแป้นพิมพ์ที่กำหนดให้ใช้เป็นคีย์ลัด (คลิกเมนู Edit > Keyboard Shortcuts)

ส่วนประกอบของ photoshop cs3

     หน้าจอใช้งานของ photpshop cs3 ได้รับการปรับเปลี่ยนจากเวอร์ชั่นเดิมเป็นอันมากทำให้ดูมีสีสันน่าใช้งานขึ้น นอกจากนี้ยังออกแบบให้สามารถเรียกใช้ชุดคำสั่งและเครื่องมือสำหรับทำงานได้สะดวกยิ่งขึ้น ดังนี้



เมนู (Menu)
     เมนูบาร์เป็นแถบคำสั่งที่รวบรวมคำสั่งการใช้งานของ photoshop cs3 ไว้ทั้งหมด ซึ่งแต่ละกลุ่มคำสั่งมีความสำคัญ ดังนี้
     - File   เป็นคำสั่งที่ใช้เกี่ยวกับการสร้าง เปิดไฟล์ภาพและสั่งพิมพ์ไฟล์ภาพ
     - Edit  เป็นคำสั่งที่เกี่ยวกับการแก้ไขภาพ เช่น การใส่สีพื้นและสีเส้น
     - Image   เป็นกลุ่มคำสั่งที่ใช้สำหรับปรับขนาดและปรับสีให้แก่รูปภาพ
     - Layer   ใช้ควบคุมการทำงานของส่วนประกอบต่างๆในรูปทั้งหมด
     - Select   ใช้เลือกพื้นที่บนรูปภาพหรือเลือกเลเยอร์ที่จะทำงานด้วย
     - Filter   ตกแต่งรูปภาพด้วยการใส่ฟิลเตอร์ และ เอ็ฟเฟ็กต์
     - View   กำหนดมุมมองสำหรับทำงานกับรูปภาพ
     - Window   เป็นคำสั่งที่ใช้ซ่อน / แสดงหน้าต่างของเครื่องมือสำหรับทำงาน
     - Help   ใช้ขอความช่วยเหลือในการทำงาน



กล่องเครื่องมือ (Tools Palette)
     กล่องเครื่องมือหรือ Tools Palette มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทรงยาวภายในบรรจุเครื่องมือสำหรับสร้างงานกราฟิก แก้ไข และปรังแต่งภาพต่าง ๆ ซึ่งส่วนประกอบของ Tools Palette มีดังนี้


เครื่องมือใน photoshop ถูกแบ่งหน้าที่การใช้งานไว้เป็นกลุ่มๆ ดังนี้
     - Selection tools  กลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการเลือกพื้นที่ก่อนใช้งาน
     - Crop and Slice tools  กลุ่มเครื่องมือที่ใช้สำหรับตัดพื้นที่บนรูปภาพ
     - Retouching tools  กลุ่มเครื่องมือที่ใช้แก้ไขจุดบกพร่องที่อยู่บนรูปภาพ
     - Painting tools  กลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการใส่สีรูปแบบต่างๆ บนรูปภาพ
     - Drawing and type tools  กลุ่มเครื่องมือที่ใช้วาดภาพ / สร้างข้อความ
     - Annotation, measuring and navigation tools กลุ่มเครื่องมือที่ใช้อำนวยความสะดวกในการทำงาน เช่น แสดงหน่วยวัด ทิศทาง เป็นต้น
    
     เมื่อเลือกเครื่องมือแล้วจะมีออปชั่นขึ้นมา ให้กำหนดคุณสมบัติพิเศษของเครื่องมือ ซึ่งในออปชั่นนั้นจะมีรายละเอียดสำหรับเลือกทำงาน เช่น เมื่อเลือกใช้เครื่องมือ Rectangular Tool แถบของออปชั่นจะเปลี่ยนไปดังนี้


พาเนล (Panel)
     Photoshop cs3 ได้เปลี่ยนการเรียก Palette เป็น Panel และได้นำเอาความสามารถเด่นของโปรแกรมในตระกูล Macromedia มาใช้งาน โดย Panel ของ cs3 จะสามารถยอขยายชุดคำสั่งเื่อให้เห็นสัดส่วนของภาพได้อย่างเต็มที่ โดยคลิกปุ่ม Expand Dock เพื่อขยายแล้วคลิกปุ่ม Collapse to Expand เพื่อย่อพาเนล ดังนี้


     ในส่วนของ Panel สามารถแยกหรือนำมาเรียงกันในตำแหน่งที่ต้องการและออกแบบ Panel ไว้ด้วยตนเอง การใช้งานให้คลิกที่ชื่อและแดรกเมาส์ลากพาเนลไปในตำแหน่งที่ต้องการ (เมื่อต้องการรวมพาเนลใช้วิธีเดียวกัน) ดังนี้


     กรณีที่แก้ไขพาเนลแล้วต้องการเรียกพาเนลให้กลับสู่สถานะเริ่มต้น หรือ จัดเรียงพาเนลตามรูปแบบของการทำงาน เช่น Automation, Image Analysis, Web Design และอื่นๆ สามารถทำได้ดังนี้



ประเภทของงานกราฟิก


     งานกราฟิกที่พบเห็นในสื่อต่าง ๆ ปัจจุบันนี้มีความสามารถหลากหลายมากแต่โดยทั่วไปแล้วงานกราฟิกมีพื้นฐานการสร้าง 2 รูปแบบคือ
     - กราฟิกแบบ Vector เป็นการสร้างภาพที่มีรูปทรงเลขาคณิตโดยใช้เส้นแบบต่างๆมารวมกัน โดยสามารถประกอบกันเป็นรูปภาพ ซึ่งข้อดีคือ สามารถขยายได้โดยไม่เสียความสมดุลของรูปภาพ ขอบของรูปภาพจะไม่แตก เมื่อมีการขยายโปรแกรมที่สามารถสร้างภาพ Vector ได้คือ CorelDRAW, Illustrator

ภาพแบบ Vector

     - กราฟิกแบบ Bitmap เป็นการสร้างรูปภาพจากภาพถ่ายซึ่งรูปภาพจะเกิดจากจุดสีที่มีลักษณะเป็นจุดสี่เหลี่ยม มาเรียงกันอยู่จำนวนมาก เรียกว่า จุดพิกเซล พอมารวมกันจะก่อให้เกิดภาพ แหล่งที่มาของภาพจะได้มาจาการถ่ายภาพ ซึ่งสามารถนำภาพไปตกแต่งและแก้ไขได้ในโปรแกรม photo shop

ภาพแบบ Bitmap

รู้จัก photoshop cs3

     Photoshop เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับสร้างและตกแต่งภาพกราฟิกซึ่งมีประสิทธิภาพ และมีชื่อเสียงมากที่สุดโปรแกรมหนึ่ง ด้วยความสามารถที่หลากหลายทั้งการสร้างภาพใหม่ และตกแต่งด้วยเครื่องมือและเทคนิคพิเศษต่างๆ จึงทำให้ photoshop เป็นโปรแกรมสำคัญที่จำเป็นต้องมีติดตั้งใช้งานในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ ใช้ส่วนใหญ่
     ใน ปัจจุบัน photoshop ได้ผ่านการพัฒนามาจนถึงเวอร์ชั่นที่ 10 ซึ่งมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "Photoshop CS3" โดยในเวอร์ชั่นนี้ถูกออกแบบให้มีความสามารถเพิ่มมากขึ้นและออกแบบเครื่องมือ ให้เรียกใช้ได้สะดวกขึ้น ขณะนี้ photoshop ได้ถูกนำมาใช้ในการออกแบบชิ้นงานด้านต่างๆ ดังนี้
     - สื่อสิ่งพิมพ์ไม่ว่าจะเป็น นิตรสาร วารสาร หนังสือ แผ่นพับและโบชัวร์
     - งานกราฟิกโฆษณาสินค้าทางโทรทัศน์
     - งาน presentation และตกแต่งภาพสำหรับภาพยนตร์และมีเดียวทั่วไป
     - ออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์และฉลากสินค้าทั่วไป
     - ออกแบบกราฟิกสำหรับเว็บไซต์